Search
Close this search box.

9 วัดในพนมเปญ ไหว้พระ ทำบุญ วัดสวย ไม่ควรพลาด  

temples-visit-phnom-penh
Table of Contents

พนมเปญ นอกจากจะเป็นเมืองหลวงสุดคึกคักของกัมพูชาแล้ว ยังมีวัดสำคัญมากมาย เพราะชาวกัมพูชานั้นให้ความเคารพพระพุทธศาสนาจึงมีการวัดสร้างขึ้นเป็นจำนวนมาก วันนี้เราจะพาไปตะลุยวัดในพนมเปญสวย ๆ น่าเที่ยว สายทำบุญไม่ควรพลาด พร้อมแล้วไปดูกันเลย

9 วัดในพนมเปญ

วัดพนม

วัดพนม สร้างในปี 1373 ถือเป็นจุดศูนย์กลางของพนมเปญด้วย ตำนานเล่าว่ามีหญิงม่ายผู้ร่ำรวยชื่อ เพน พบพระพุทธรูปสี่องค์ในต้นไม้ที่ลอยอยู่บนแม่น้ำ จึงสร้างเนินเขาขนาดเล็กหรือ ‘พนม’ และศาลาเพื่อเก็บพระพุทธรูป จึงเป็นที่มาของชื่อเมืองพนมเปญ เจดีย์กลางเป็นที่เก็บอัฐิของพระบรมราชา (เจ้าพระยาญาติ) ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์    

ไฮไลต์ของวัดพนม

วัดในพนมเปญ

ที่นี่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เล่าถึงพระพุทธเจ้า บรรยากาศสวนในวัดสุดร่มรื่นเหมาะสำหรับเดินเล่น พักผ่อน หนีความวุ่นวายของเมืองหลวง

วัดอุโบสถรตนาราม 

วัดอุโบสถรตนาราม หรือที่ชาวกัมพูชาเรียกว่า วัดพระแก้ว ตั้งอยู่ภายในเขตพระราชวัง เป็นหนึ่งในวัดที่ได้รับการเคารพมากที่สุดในพนมเปญ สร้างในปี 1892 เป็นที่เก็บรักษาสมบัติทางวัฒนธรรมและศาสนา รวมถึงพระแก้วมรกตด้วย  

ไฮไลต์ของวัดอุโบสถรตนาราม

วัดในพนมเปญ

กราบพระแก้วมรกต ชมภาพจิตรกรรมฝาผนังที่แสดงฉากจากรามเกียรติ์ และพื้นที่ทำจากแผ่นเงินกว่า 5,000 แผ่น สวยระยิบระยับสุด ๆ นอกจากนี้สามารถเดินไปชมพระราชวังที่อยู่ใกล้ ๆ ได้อีกด้วย   

วัดอุณาโลม

วัดอุณาโลม สร้างในปี 1443 เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชมหานิกายในกัมพูชา ที่เรียกว่า ‘วัดอุณาโลม’ เพราะเรียกตามชื่อเจดีย์ใหญ่ทั้งห้า ที่อยู่ทางตะวันตกของวัด วัดอุณาโลมมีความเก่าแก่กว่ากรุงพนมเปญเสียอีก  

ไฮไลต์ของวัดอุณาโลม

วัดในพนมเปญ

สามารถเที่ยวชมวิหารหลัก เรียนรู้เกี่ยวกับคำสอนและการปฏิบัติของพุทธศาสนาผ่านจารึกและรูปปั้นต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีที่สำหรับนั่งสมาธิและปฏิบัติธรรมด้วย 

วัดลังกา 

เป็นหนึ่งในวัดที่สำคัญที่สุดในพนมเปญ สร้างในปี 1442 เคยเป็นสถานที่พบปะของพระสงฆ์กัมพูชาและศรีลังกา ในช่วงเขมรแดงถูกใช้เป็นโกดังเก็บของ จึงทำให้หนังสือ ตำราเรียน และคัมภีร์ที่อยู่ในวัดนี้ไม่ถูกทำลาย  

ไฮไลต์ของวัดลังกา 

วัดในพนมเปญ

ด้วยบรรยากาศเงียบสงบ สามารถมาทำสมาธิและปฏิบัติธรรมได้ นอกจากนี้ห้องสมุดของวัด ยังมีคัมภีร์และตำราพุทธศาสนามากมาย สามารถเข้ามาศึกษาได้เช่นกัน  

วัดโบตุม

วัดโบตุม หรือ วัดปทุมวดี สร้างในศตวรรษที่ 15 เป็นพระอารามหลวงฝ่ายธรรมยุติกนิกายของประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคล มีความใกล้ชิดกับราชวงศ์กัมพูชาเป็นอย่างมาก 

ไฮไลต์ของวัดโบตุม

วัดในพนมเปญ

วัดนี้เป็นที่ตั้งของอนุสรณ์และอนุสาวรีย์ทางประวัติศาสตร์ของของกัมพูชา สามารถศึกษาความสัมพันธ์ของวัดและราชวงศ์กัมพูชาได้ 

วัดสะระวัน 

เป็นวัดที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักมากนัก แต่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานและบรรยากาศที่เงียบสงบ ตัววัดมีสถาปัตยกรรมที่ละเอียดสวยงาม แถมยังเงียบสงบเหมาะกับการพักผ่อนสุด ๆ 

ไฮไลต์ของวัดสะระวัน

สามารถเข้ามาทำบุญ ฟังเทศน์ และทำสมาธิได้ที่นี่ ด้วยความเงียบสงบและธรรมชาติในวัดที่ร่มรื่นสามารถนั่งพักผ่อนและเดินเล่นได้ 

วัดมหามนตรี 

เป็นวัดที่ผสมผสานอิทธิพลแบบดั้งเดิมเข้ากับสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ชาวบ้านนิยมมาทำบุญกันที่วัดนี้ เพราะทางวัดจัดกิจกรรมทางศาสนาเป็นประจำ 

ไฮไลต์ของวัดมหามนตรี 

ชมภาพจิตรกรรมฝาผนังสีสันสดใส นอกจากนี้ในช่วงวันสำคัญทางศาสนา ทางวัดจะจัดงานด้วย สามารถเข้าไปร่วมกิจกรรมทางศาสนาตามแบบฉบับชาวกัมพูชาได้เลย 

วัดแก่นแกลง 

เป็นวัดที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ทำให้เป็นวัดที่มีบรรยากาศดีสุด ๆ ทั้งลมพัดอ่อน ๆ ธรรมชาติรอบวัด รวมถึงสถาปัตยกรรมและความงดงามของวิหารด้วย 

ไฮไลต์ของวัดแก่นแกลง

วัดในพนมเปญ

ไหว้พระ ทำบุญ เพื่อความสิริมงคล และยังสามารถเดินเล่นชมวิวริมโขงได้ บอกเลยว่าบรรยากาศดีสุด ๆ เหมาะกับการพักผ่อนในช่วงบ่าย 

วัดพระพุทธแก้ว 

วัดพระพุทธแก้ว มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และความงามทางสถาปัตยกรรม โดยตัวพระอุโบสถมีการแกะสลักและประติมากรรมสุดประณีต ทำให้เป็นหนึ่งในวัดที่สวยมาก ๆ   

ไฮไลต์ของวัดพระพุทธแก้ว 

ชมประติมากรรมและความสวยงามของวัด สามารถปฏิบัติธรรมและทำบุญได้แบบเต็มอิ่ม 

และนี่ก็เป็น 9 วัดในพนมเปญ บอกเลยว่าต้องมีทริปไหว้พระสักหนึ่งวันในช่วงที่อยู่ในพนมเปญ เพราะวัดที่นี่สวยงามมากและมีประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันออกไป แถมยังค่อนข้างเงียบสงบด้วย เพื่อให้การเดินทางสะดวกสบาย บินตรงไปยังพนมเปญกับบางกอกแอร์เวย์ส พร้อมบริการห้องรับรองพิเศษที่สนามบินสำหรับผู้โดยสารทุกท่าน ฟรีน้ำหนักสัมภาระให้ถึง 20 กก. และบริการมื้ออาหารแสนอร่อยบนเครื่องบิน พร้อมแล้วก็เก็บกระเป๋าจองตั๋วไปพนมเปญกันเลย  

Share This Story with your travel friends!
Facebook
Twitter
LinkedIn
Email
Related Posts